อย่างที่เรารู้กันดีว่าเทคโนโลยีในโลกเรานั้น มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และดีขึ้นในทุกๆวัน ในแต่ละปี ก็จะมีการอัพเดต เทรนด์อุปกรณ์ ไฮเทคต่างๆอยู่เสมอ เช่นเดียวกันกับปีนี้ สายคอมพีซีจะต้องตื่นตาตื่นใจกับ เทรนด์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ในปีนี้ ที่เราได้นำมาแนะนำเพื่อนๆกัน จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกัน

1. CPU /AI ยุคใหม่ของแกนประมวลผลบน PC
ในที่สุด CPU หรือโปรเซสเซอร์จากทาง Intel ก็เดินทางมาสู่เจเนอเรชั่นที่ 10 กันแล้ว โดยตัวนี้เป็นโปรเซสเซอร์ตัวแรกที่นำปัญญาประดิษฐ์ AI มาประมวลผลบนคอมพิวเตอร์ โดยเร่งประสิทธิภาพการทำงานร่วมกับ AI ได้มากกว่าเดิมถึง 2.5 เท่า แถมเพิ่มประสิทธิภาพการแสดงผลด้วย Intel Iris Plus Graphic ช่วยให้ภาพกราฟฟิกสวยสมจริงยิ่งขึ้น
ในเรื่องของเทคโนโลยีการเชื่อมต่อทาง Intel ได้อัปเกรดการเชื่อมต่อแบบไร้สาย Intel Wi-Fi 6 (รหัส AX) ที่สามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้นกว่าเดิมถึง 3 เท่า แถมรองรับเชื่อมต่อผ่าน Thunderbolt 3 ที่ให้ความเร็วสูงถึง 40GB ตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะกับการทำงานที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
ส่วนการทำงานเสริมที่ทำร่วมกับระบบ AI นั้นอย่างที่เห็นได้ชัดจะมี Intel GNA (Gaussian Mixture Mode) และ Deep Learning Boost ซึ่ง Intel GNA นั้นเป็นการประมวลผลที่ผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยีการกำจัดเสียงรบกวน Krisp ของ AI ที่สามารถลบเสียงรบกวนบริเวณรอบๆ ได้ระหว่างพูดคุยสนทนาผ่านแชท
ส่วนเทคโนโลยี Deep Learning Boost จะเป็นการวิเคราะห์ภาพเบลอร่วมกับ AI กว่า 8,000 ภาพ เพื่อประมวลผลลัพธ์ของภาพสัดส่วนใบหน้า วัตถุต่างๆ ของภาพปรับภาพเบลอของคุณนั้นให้กลายเป็นภาพที่ชัดขึ้นมาได้
จุดเด่น Intel Core Gen 10th
- AI เพิ่มปัญญาประดิษฐ์ลงบนคอมพิวเตอร์
- Intel Iris Plus Graphic กราฟฟิกสวยงามสมจริงขึ้น
- Wi-Fi 6 (รหัส AX) ส่งข้อมูลไร้สายไวขึ้น 3 เท่า
- Thunderbolt 3 ถ่ายโอนข้อมูลความเร็วสูงกว่าเดิม
- Intel GNA ระบบตัดเสียงรบกวนร่วมกับ AI
- Deep Learning Boost วิเคราะห์ภาพผ่าน AI
2. อุปกรณ์ไร้สายแบบเต็มรูปแบบ
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเทรนด์ไร้สายนั้น มาแรงมากๆ อุปกรณ์รอบตัวของเราส่วนใหญ่ก็พัฒนาจนกลายเป็นอุปกรณืที่ ไม่จำเป็นต้องพึ่งสายไฟอีกต่อไป หรือใช้สายส่งสัญญาณอีกแล้ว เช่น สมาร์ทวอทช์ หูฟังทรูลี่ไวเลส เป็นต้น ความสะดวกสบาย คือ ไม่จำเป็นต้องต่อสายอะไร เพราะมีเทคโนโลยีไร้สายรองรับ ทั้ง Bluetooth / Wi-Fi รวมกับ Wireless Charge ที่กล่าวมานี้ เป็นเทรนด์ในวงการแกดเจ็ต ที่เราได้เห็นกันไปแล้ว แต่สำหรับวงการอุปกรณืคอมพิวเตอร์ ก็เริ่มมีบ้างแล้วเหมือนกัน เช่น Razer HyperFlux หรือ Logitech Powerplay เมาส์ไร้สายที่ใช้การรับ-ส่งไปผ่านแผ่นรองเมาส์ เป็นต้น แต่ถึงอยจ่างนั้นตัวแผ่นรองก็ยังต้องมีสายอยู่ดี
และเทรนด์ในปีหน้า ที่จะถึงนี้ก็มีแววว่า อุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าไม่มากจะมีการเอาเทคโนโลยีการรับจ่ายกระแสไฟฟ้าแบบไร้สายมาให้ผู้ใช้งานได้สัมผัสกันมากขึ้น
3. อุปกรณ์เล่นเกมฉลาดขึ้น
อย่างที่ได้กล่าวไปเบื่องต้น ว่าเทคโนโลยี AI สามารถนำไปใส่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้เกือบแทบจะทุกชนิด พอใส่เข้าไปมันก็จะกลายเป็นอุปกรณ์อัจฉริยะ ที่รู้ว่าเราต้องการอะไร ชอบอะไร และมีพฤติกรรมการใช้งานอย่างไร
ซึ่งในปีนี้เอง ก็มีแนวโน้มว่าเกมมิ่งเกียร์จะมีการหยิบจับเทคโนโลยี AI มาใส่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เมาส์ คีย์บอร์ด หูฟัง หรือแม้กระทั้งจอยคอนโทรล

4. โปรเจคเตอร์แบบ Laser
อาจพูดได้ว่าการถ่ายทอดไดนามิกเรนจ์ที่โดดเด่นเหนือเทคโนโลยีโปรเจ็คเตอร์ใดๆ ในอดีตที่เคยมีมาของ EH-LS10000 นั้น ถ้าจะเปรียบให้เห็นภาพ ก็เหมือนดั่งนำ OLED TV ไปเทียบความต่างกับ LCD/LED TV หรือ Plasma TV ทว่าเป็นภาพจากโปรเจ็คเตอร์ที่ฉายบนจอรับภาพขนาดใหญ่กว่า 100 นิ้ว นั่นแล…
ทุกสิ่งล้วนเกิดขึ้นจากเหตุและปัจจัย อยู่ดีๆ ภาพจากโปรเจ็คเตอร์จะดีขึ้นมาโดยไม่มีเหตุผลมิได้ ทั้งนี้ปัจจัยที่ส่งผลให้ EH-LS10000 สามารถถ่ายทอดไดนามิกเรนจ์ โดยเฉพาะผลลัพธ์จากความเปลี่ยนแปลงของระดับ Black Level ได้ยอดเยี่ยมอย่างมีนัยสำคัญ คือ พื้นฐานจากแหล่งกำเนิดแสงที่เรียกว่า “เลเซอร์”
Projector Light Source
เทคโนโลยีเลเซอร์คงมิใช่ของใหม่ เพราะวงการเครื่องเสียง-โฮมเธียเตอร์ก็เคยใช้เทคโนโลยีนี้กับหัวอ่านเครื่องเล่นซีดีมาก่อนตั้งแต่ยุค 80s ก่อนได้รับการพัฒนามาเป็นเครื่องเล่นภาพและเสียงอย่าง ดีวีดี และ บลูเรย์เพลเยอร์ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดีสำหรับการนำมาใช้เป็นแหล่งกำเนิดแสงของโปรเจ็คเตอร์ เพิ่งจะมีเมื่อไม่นานมานี้เอง
แหล่งกำเนิดแสงของโปรเจ็คเตอร์มีความสำคัญอย่างไร? เพื่อให้เข้าใจอย่างชัดแจ้ง ก่อนอื่นต้องขออธิบายหลักการทำงานของโปรเจ็คเตอร์ก่อน
ท่านที่ปัจจุบันอายุ 30+ คงจะยังทันได้เห็นเครื่องฉายสไลด์ หลักการของเครื่องฉายสไลด์ที่ไม่ซับซ้อน โดยพื้นฐานนับว่าคล้ายคลึงกับโปรเจ็คเตอร์อยู่มากทีเดียวครับ กล่าวคือ ภาพฉายบนจอที่เราเห็นนั้นเกิดจากการนำแหล่งกำเนิดแสง (จากหลอดไฟ) ฉายผ่านเลนส์รวมแสงไปตกยังภาพที่ต้องการจะดู ในที่นี้ คือ ฟิล์มสไลด์**
จากนั้นภาพ (ที่มาพร้อมกับแสงของหลอดไฟ) จะผ่านเลนส์ขยายไปตกกระทบบนจอรับภาพให้ได้ชมกัน โปรเจ็คเตอร์ก็มีโครงสร้างการทำงานแบบเดียวกับเครื่องฉายสไลด์นี้ ต่างที่รายละเอียดขั้นสูงที่ซับซ้อนกว่า
จากหลักการข้างต้น หากต้องการรับชมภาพฉายที่มีความสว่างจะแจ้ง หลอดไฟจะต้องมีกำลังความสว่างสูงพอ โดยเฉพาะหากต้องการความชัดเจนเมื่อฉายบนจอรับภาพขนาดใหญ่ หรือในสภาพแวดล้อมที่ต้องสู้แสง แต่ปัญหาคือ หลอดไฟกำลังสูงมักจะมาพร้อมกับความร้อน การถ่ายเทระบายความร้อนออกจากระบบจึงสำคัญ
ที่เห็นทั่วไปก็คือการเพิ่มพัดลม ถ้าไม่เพิ่มขนาดก็ต้องเพิ่มความเร็วรอบของพัดลม นี่คือที่มาของเสียงรบกวน บ่อยครั้งเราจึงเห็นโปรเจ็คเตอร์พรีเซ็นเทชั่นบางเครื่องที่กำลังหลอดไฟสูงๆ เวลาเปิดใช้งานทีเสียงดังอย่างกับเรือหางยาว ซึ่งต้องยอมแลกเพราะหากการระบายความร้อนทำได้ไม่ดี อายุการใช้งานของอุปกรณ์ก็จะสั้นลงกว่าที่ควรจะเป็น
ผลกระทบอีกประการของหลอดไฟกำลังสูง คือ มันจะกลายเป็นภาระสำหรับโปรเจ็คเตอร์เมื่อต้องการแสดงสีดำ สีดำจะไม่ดำสนิทเนื่องจากเป็นการยากจะปิดบังแสงสว่างที่สว่างมากจากหลอดไฟกำลังสูงนั้น มิให้เล็ดลอดออกมารบกวน
นี่คือเหตุผลว่า ทำไมโฮมเธียเตอร์โปรเจ็คเตอร์ทั่วไปจึงไม่เน้นความสว่างสูง ก็ด้วยข้อจำกัดเรื่องของการควบคุมแสงจากหลอดไฟ และเสียงรบกวนจากระบบระบายความร้อนนั่นเอง คงไม่ดีแน่ถ้าต้องนั่งฟังเสียงพัดลมโปรเจ็คเตอร์ไปพร้อมๆ กับการลุ้นฉากสำคัญของภาพยนตร์
ปัจจัยด้านคุณภาพของภาพที่เกี่ยวเนื่องกับหลอดไฟ ยังมีประเด็นเรื่องของการถ่ายทอดคุณภาพสีสัน เนื่องจากความสามารถในการถ่ายทอดสเป็กตรัมแสง กับอุณหภูมิสีของหลอดไฟ จะส่งผลกับภาพฉายโดยตรง ถ้าเทคโนโลยีหลอดไฟถ่ายทอดสเป็กตรัมแสงได้จำกัด ขอบเขตการแสงเฉดสีของโปรเจ็คเตอร์ก็ย่อมจำกัดไปด้วย และเช่นกันว่าถ้าอุณหภูมิสีของหลอดไฟไม่คงที่ การจะได้ภาพฉายที่ให้สมดุลสีเที่ยงตรงย่อมเป็นไปได้ยาก
5. เครื่องพิมพ์แบบ 3D
3D printer คือเครื่องจักรที่ใช้กระบวนการเติมเนื้อวัสดุ เพื่อทำให้เกิดเป็นรูปร่างที่สามารถจับต้องได้ตามที่ต้องการ โดยอาศัยข้อมูลในรูปแบบดิจิตอล ซึ่งการเติมเนื้อหรือพิมพ์วัสดุลงไปนั้นเรียกว่า Additive Process ซึ่งการพิมพ์นั้นจะค่อยเป็นไปทีละ Layer หรือทีละชั้น ยกตัวอย่าง ถ้าเราต้องการสร้างตึกที่มีจำนวน 25 ชั้น เราก็ต้องเริ่่มสร้างจากฐานรากก่อน แล้วค่อยๆ ต่อเสาขึ้นไปทีละชั้น ซึ่งก็เป็นหลักการเดียวกับการพิมพ์งานของ เครื่องปริ้น 3 มิติ
เครื่องพิมพ์ 3 มิตินั้นก่อนที่จะพิมพ์งานได้ ต้องมีข้อมูลในรูปแบบของ Digital ซึ่งสามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จำพวก CAD (Computer Aided Design) ในการออกแบบ นอกจากจะใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบแล้ว ยังสามารถใช้ สแกนเนอร์ 3 มิติ ในการเปลี่ยนวัตถุในโลกความจริงไปเป็นไฟล์ดิจิตอล ที่สามารถนำไปใช้งานกับ 3D printe
เมือได้โมเดลหรือชิ่้นงานในรูปของไฟล์ดิจิตอลแล้ว ก็จะนำไฟล์นั้นไปทำการ Slice หรือตัดเลเยอร์งานออกมาให้เป็นแผ่นบางๆ เพื่อที่จะให้ เครื่องพิมพ์ 3 มิติ พิมพ์แผ่นหรือชั้นบางๆ นั้นทับต่อกัน จนเกิดเป็นวัตถุ 3 มิติขึ้นมา ถ้ายังนึกไม่ออก ลองนึกถึง ก้อนขนมปังก้อนยาวๆ แล้วถูกหั่นเป็นแผ่นบางๆ ซึ่งถ้าเราเอาแผ่นบางๆ มาวางซ้อนกันแล้วทาแยม ลงระหว่างแผ่นขนมปัง ก็จะทำให้เกิดเป็นขนมปังก้อนยาว ก้อนเดียว ซึ่งตัวแยมนั้น ก็เปรียบเสมือนกาว ที่เอาไว้ยึดระว่างแผ่นขนมปัง
เทคโนโลยีของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ นั้นจะใช้หลักการเดียวกัน คือตัดหรือ Slice งานเป็๋นแผ่นบางๆ แล้วพิมพ์แผ่นนั้นซ้อนทับกันไปเรื่อยๆ ซึ่งข้อแตกต่างระหว่างเทคโนโลยีแต่ละตัวนั้น จะต่างกันในส่วนของวัสดุที่ใช้พิมพ์ และกระบวนการในการพิมพ์ เทคโนโลยีของ 3D printer นั้นสามารถแบ่งออกมาได้ดังนี้
- Vat Photopolymerisation
- Material Jetting
- Binder Jetting
- Material Extrusion
- Powder Bed Fusion
- Sheet Lamination
- Directed Energy Depostion
และนี่ก็เป็น เทรนด์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ทั้ง 5 อย่างที่เราได้รวมมานำเสนอในวันนี้ ต้องมีจับจองสักอย่างแล้วล่ะ
มาทำความรู้จักกับ B2B B2C B2G ใครหลายคนคงเคยได้ยินคำว่า B2B , B2C และ B2G อยู่บ้าง เป็นแนวทางการลงทุน Business ที่หลายคนอาจพอเข้าใจความหมาย วันนี้เราอยากจะชวนทุกคนมาทำความรู้จักกันอีกครั้ง
อ่านบทความน่าสนใจเพิ่มเติม : 10 คีย์บอร์ดเกมมิ่ง สุดเจ๋ง ฉบับปี 2020