วันนี้ทีมงานจะมาพูดถึงความแตกต่างระหว่าง SSD ( Solid State Drive ) กับ HDD (hard disk drive ) ว่าอันไหนจะดีกว่ากัน แล้วเราจำเป็นต้องเปลี่ยนมาใช้รึเปล่า มาดูกัน
SSD คืออะไร
SSD ย่อมากจาก Solid State Drive เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เหมือนกับ HDD ในการจัดเก็บข้อมูล แต่ Solid State Drive จะใช้หน่วยความจำในลักษณะของ Flash Memory Chips ซึ่งมีลักษณะการทำงานคล้ายคลึงกับ Flash Drive/Thumb Drive แต่เร็วกว่าและเสถียรกว่า
ข้อดี
1. ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลไวกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับ Harddisk ที่เราใช้กันในปัจจุบัน
2. ไม่เปลืองพลังงานไฟฟ้า
3. ไม่มีเสียงดัง เนื่องจากเก็บข้อมูลด้วย Flash Memory ดังนั้นจึงไม่มีชิ้นส่วนที่ต้องเคลื่อนที่
4. ไม่มีความร้อนเกิดขึ้น
5. สามารถตกจากที่สูงได้ ในขณะที่ข้อมูลด้านในไม่เป็นอะไรเลย เมื่อเปรียบเทียบกับ Harddisk แบบที่เราใช้การกันใจปัจจุบัน
6. ความไวในการ Boot เครื่อง
ข้อเสีย
1. การเขียนข้อมูลจะช้า เพราะมันคือ Flash การเขียนของมันจะต้องทำการ เพิ่มกำลังไฟฟ้าให้สูงขึ้นพอที่จะทำให้ข้อมูลใหม่เพิ่มเข้าไปได้
2. ราคาค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับ Harddisk แบบที่เราใช้กันในปัจจุบัน
HDD คืออะไร
ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) คืออุปกรณ์ชิ้นหนึ่ง ที่เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลระบบปฏิบัติการณ์ต่างๆ หรือข้อมูลในรูปแบบของโปรแกรมประยุกต์ หรือแฟ้มงานต่างๆ ล้วนถูกเก็บรักษาเอาไว้ในฮาร์ดดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ เลยเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นและสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งเลยทีเดียวก็ว่าได้
การทำงานและส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์
– หัวอ่าน (Head) เป็นส่วนหนึ่งของแขนหัวอ่าน ซึ่งเจ้าหัวอ่านตัวนี้สร้างจากขดลวด เพื่อใช้อ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนแผ่นแม่เหล็ก โดยการรับคำสั่งจากตัวคอนโทรลเลอร์ ก่อนเกิดความเหนี่ยวนำทางแม่เหล็ก และไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสนามแม่เหล็ก และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลนั่นเอง
– แขนหัวอ่าน (Actuator Arm) มีลักษณะเป็นแท่งเหล็กยาวๆ ซึ่งสามารถรับคำสั่งจากวงจรให้เลื่อนไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้ ไม่ว่าจะเป็นอ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนแผ่นแม่เหล็ก โดยต้องทำงานร่วมกับหัวอ่าน
– จานแม่เหล็ก (Platters) มีลักษณะเป็นจานกลมๆ เคลือบด้วยสารแม่เหล็กวางซ้อนกันหลายๆ ชั้นขึ้นอยู่กับความจุ เจ้าสารแม่เหล็กที่เองที่เป็นข้อมูลต่างๆ ของเรา โดยข้อมูลนั้นจะถูกบันทึกในลักษณะของเลข 0 และ 1 แผ่นแม่เหล็กนั้นติดกับมอเตอร์สำหรับหมุน (Spindle Motor) และสามารถเก็บข้อมูลได้ทั้ง 2 ด้าน
– มอเตอร์หมุนแผ่นแม่เหล็ก (Spindle Motor) เป็นตัวควบคุมจานแม่เหล็กให้หมุนไปยังตำแหน่งที่ต้องการเพื่อบันทึก หรือแก้ไขข้อมูล ปกติมักมีความเร็วในการหมุนประมาณ 7200 รอบต่อนาที แต่ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมทำให้ตัวมอเตอร์มาสามารถเพิ่มความเร็วได้ถึง 1 หมื่นรอบต่อนาที
– เคส (Case) หรือตัวกล่องสี่เหลี่ยม ซึ่งเป็นที่บรรจุส่วนต่างๆ ที่ใช้ในการทำงานของฮาร์ดดิสก์
SSD vs. HDD: ความเร็ว
ความเร็วที่เหนือกว่ามากๆ เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้คนหันไปเลือก เอสเอสดี เพราะเมื่อวัดกันเฉพาะความเร็วแล้ว เอสเอสดี ชนะขาดลอยแน่นอน ถึงแม้ว่า HDD จะมีการพัฒนาไปมากแล้ว แต่ก็ยังมีข้อจำกัดเรื่องความเร็วของในการหมุนของดิสก์ ซึ่งหมายความว่า Solid State Drive ที่ไม่ได้ใช้การหมุนของดิสก์ในการทำงานจะไม่มีข้อจำกัดเรื่องนี้ และจะมีความเร็วในการอ่านข้อมูล/เขียนข้อมูลที่เร็วกว่า HDD เสมอ
เมื่อเจาะลึกลงรายละเอียด ดูกันเป็นตัวเลขก็จะยิ่งเห็นชัดถึงความแตกต่างเรื่องความเร็วของ เอสเอสดี ยกตัวอย่าง HDD ที่มีราคาแพงและอยู่ระดับบนๆ ของตลาด จะมีความเร็วในการหมุนสูงสุดเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 7200 รอบต่อนาที และมีความเร็วส่งผ่านข้อมูลอยู่ที่ประมาณ 150-200MBps ซึ่งความเร็วทั้งหมดที่กล่าวมาอาจจะช้าลงไปกว่านี้ในการใช้งานจริง เปรียบเทียบกับ เอสเอสดี ซึ่งมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลโดยเฉลี่ยมากถึง 500 MBps จากตัวเลขดังกล่าวทำให้เห็นชัดเจนว่า เมื่อเปรียบเทียบกันที่ความเร็ว เอสเอสดี นำหน้า HDD อยู่ในขณะนี้
สรุปกันคร่าวๆ ระหว่าง ssd กับ hdd
Harddisk กับ Solid State Drive นั้นมีหน้าที่เดียวกันคือ เป็นหน่วยบันทึกข้อมูลสำหรับคอมพิวเตอร์ และมีข้อแตกต่างกันที่ เอสเอสดี มีความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูลที่สูงกว่า Harddisk หลายเท่าตัว มีน้ำหนักเบา กินไฟน้อย ไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหว แต่มีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าฮาร์ดดิสก์
ส่วน Harddisk นั้น มีความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูลที่ต่ำ แต่สามารถเก็บความจุได้เยอะ ในราคาที่ไม่แพง ไม่มีขีดจำกัดในการเขียนทับข้อมูล สามารถเก็บข้อมูลได้ยาวนานต่างๆ หรือไฟล์งานต่างๆที่เรียกใช้งานบ่อยครั้งเพื่อให้มีความรวดเร็วต่อการใช้งาน และมักจะนำฮาร์ดดิสก์มาเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน เช่น ไฟล์ภาพต่างๆ ไฟล์เพลงๆ หรือไฟล์สำรองข้อมูลต่างๆ เพราะฮาร์ดดิสก์มีความจุที่เยอะและทนทานกว่า Solid State Drive นั่นเอง
ใส่ได้กับคอมทั่วไป
ขอบคุณข้อมูลจาก แอดดิน , VPSHiSPEED , mindphp
สนับสนุนโดย PGSLOT